หลักสูตร

ระดับปริญญาโท หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสื่อสารศึกษา) (MA) (ภาคปกติ)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

     ภาษาไทย ชื่อเต็ม วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารศึกษา)

     ชื่อย่อ ว.ม. (สื่อสารศึกษา)

     ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Master of Arts (Communication Studies)

     ชื่อย่อ M.A. (Communication Studies)

ปรัชญาของหลักสูตร

     ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า วิชาชีพด้านสื่อและการสื่อสารเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญและความรับผิดชอบสูงต่อบุคคลและสังคม ดังนั้นผู้ผลิตและสร้างสรรค์สื่อต้องจำเป็นอาศัยวิชาการ ความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ที่ก้าวหน้าและกว้างขวาง เพื่อปฏิบัติงานในวิชาชีพด้านนี้ให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษา จึงเปิดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดทฤษฎีและวิธีการแสวงหาความรู้ทางด้านสื่อสารศึกษา เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการประเมินผลวิจัยการสื่อสาร อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสังคมโดยรวมที่กำลังเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ต่อไป

ความสำคัญของหลักสูตร

     แม้จะมีการขยายตัวทางด้านสื่อสารในประเทศไทยอย่างมากก็ตาม แต่ความพยายามที่จะนำการสื่อสารเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศก็ยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร โครงการพัฒนาต่าง ๆ จึงยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย สาเหตุสำคัญเนื่องจากขาดการวางนโยบายและวางแผนด้านการสื่อสารทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค นอกจากนี้ความรู้ความเข้าใจในด้านทฤษฎี เทคนิค กลยุทธ์และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้การสื่อสาร เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศยังไม่เพียงพอและสมบูรณ์เท่าที่ควร เพราะขาดการค้นคว้าวิจัยที่จริงจังและน่าเชื่อถือ การเปิดสอนหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษานี้ จะช่วยปิดช่องว่างดังกล่าวและเอื้ออ านวยต่อโครงการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างมากโดยอาศัยการสร้างบุคคลากรที่มีทุนความรู้และศักยภาพการวิจัยทางสื่อสารศึกษา

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     เพื่อให้บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาในหลักสูตรมีลักษณะดังนี้

     1) มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสาร

     2) มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการแสวงหาความรู้ทางด้านการสื่อสาร

     3) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยการสื่อสารในประเด็นที่เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ของสังคม

     4) สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสื่อและการสื่อสารได้

ระบบการจัดการศึกษา

     ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ

     มีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 หรือต่อจากภาคการศึกษาที่ 2 ในชั้นปีการศึกษาที่ 1 และหรือปีการศึกษาที่ 2

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

     วัน – เวลาราชการปกติ เรียนวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น.

     ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – ธันวาคม

     ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม

     ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

หลักสูตรทั้งหมด